ได้รับทุนจาก สสวท เพื่อขับเคลื่อนโรงเรียนต้นเป็นในการพัมนนาการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะสู่การมีอาชีพ ปี 2566 - 2568
เข้าร่วมพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ PBL เครือข่ายศูนย์การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยใช้กระบวนการ PLC (Professional Learning Community) มีประเทศเข้าร่วม 11 ประเทศ ประเทศไทยเป็นศูนย์ดำเนินการ
การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยใช้กระบวนการ PLC (Professional Learning Community) ได้รับทุนสนับสนุนจาก สสวท ภายใต้การดูแลของมหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา โรงเรียนเข้าร่วมจำนวน 26 โรงเรียน ครูและผู้บริหารเข้าร่วมจำนวน 216 คน
ส่งเสริมการสอนตามแนว สะเต็มศึกษา ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล ร่วมกับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยใช้กระบวนการ PLC (Professional Learning Community) มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาขอนแก่น ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดปี 2564 โรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือก โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี 2 สงขลา โรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กัลกันยา โรงเรียนควนเนียงวิทยา รวมจำนวน เข้าร่วม 20 คน
โครงการพัฒนาครูแกนนำ การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล ดำเนินการตลอดปี 2564 ได้รับการสนับสนุนจาก สสวทและมหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา ครูเข้าร่วมพัฒนาครูแกนนำจำนวน 16 คน จาก โรงเรียนมัธยาสิริวัณวรี 2 สงขลา โรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ โรงเรียนสทิงพระวิทยา โรงเรียนมหาวชิราวุธ โรงเรียนวรนารีเฉลิม ดำเนินการรูปแบบออนไลน์ ไม่ใช้งบประมาณในการดำเนินการ
โครงการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูวิทยาศาสตร์ให้ผู้เรียนมีสมรรถนะตามแนว PISA โดยใช้กระบวนการ PLC (Professional Learning Community) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 16 โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา เป็นเงินจำนวน 120,000 บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นบาทถ้วน) โรงเรียนเข้าร่วมจำนวน 14 โรงเรียน ผู้เข้าร่วมพัฒนาจำนวน 93 คน
โครงการการพัฒนาแนวปฏิบัติสู่ผลสัมฤทธิ์ขั้นสูง (High-Impact Practices) ของครูวิทยาศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 16 โดยใช้กระบวนการ PLC (Professional Learning Community) โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา เป็นเงินจำนวน 150,000 บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) โรงเรียนที่เข้าร่วม 12 จำนวน ผู้เข้าร่วมพัฒนาจำนวน 72 คน
โครงการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูวิทยาศาสตร์แกนนำด้วยวิธีการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สู่การโค้ชเพื่อการรู้คิด (Cognitive Coaching) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 16 โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากโครงการ Chevron Enjoy Science ภายใต้การดูแลของมหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา จำนวน 8 โรงเรียน ครูแกนนำ จำนวน 24 คน ผู้บริหารจำนวน 8 คน ศึกษานิเทศก์จำนวน 4 คน อาจารย์และผู้เชี่ยวชาญจากโครงการ Chevron Enjoy Science จำนวน 4 คน รวมจำนวน 40 คน แยกตามสหวิทยเขตเป็นฐาน ทั้ง 4 สหวิทยาเขต