ชื่อ-สกุล : นางสุนันทา สุวรรณะ
ตำแหน่ง : ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะ ชำนาญการ
หน่วยงาน : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล (สพม.สขสต)
วุฒิการศึกษา
ปริญญาตรี ศรุศาสตร์บัณฑิต (ค.บ. ) สาขาวิชาเอกเคมี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี เกียรตินิยมอับดับ 2 นักเรียนทุนคุรุทายาท จังหวัดสงขลา ระหว่างปี 2540-2544
ปริญาโท ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต (กศ.ม) สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา ระหว่างปี 2555-2557
ประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2544 : ตำแหน่ง ครูอัตราจ้าง
1. วันที่ 9 พฤษภาคม 2554 โรงเรียนนาทวีวิทยาคม อ.นาทวี จ.สงขลา
2. วันที่ 1 สิงหาคม 2544 โรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปภัมภ์
อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร
ประวัติการรับราชการ
พ.ศ. 2544 - 2547 : บรรจุแต่งตั้ง วันที่ 21 สิงหาคม 2554 ตำแหน่ง อาจารย์ 1 ระดับ 3 โรงเรียนสาครพิทยาคาร อ.ท่าแพ จ.สตูล
พ.ศ. 2547 - 2553 : ตำแหน่ง ครูโรงเรียนควนเนียงวิทยา อ.ควนเนียง จ.สงขลา
พ.ศ.2553 - 2561 : ตำแหน่งครู คศ.2 โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
พ.ศ. 2561 -ปัจจุบัน : บรรจุแต่งตั้ง วันที่ 9 พฤษภาคม 2561 ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะ ชำนาญการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
รางวัล/เกียรติยศ ตำแหน่งศึกษานิเทศก์
พ.ศ. 2562 : เกียรติบัตรนวัตกรรมการแก้ปัญหาการเรียนรู้ของผู้เรียนตามเป้าหมายการพัฒนาวิชาชีพแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) ด้านการจัดการเรียนรู้วิทยา จากสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ประจำปี 2562
พ.ศ. 2562 : เกียรติบัตรผู้รับผิดชอบโครงการการพัฒนาวิชาชีพแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ได้รับคัดเลือกให้ได้รับทุนเงินอุดหนุนงานกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา จากสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ประจำปี 2562
พ.ศ. 2563 : ได้รับคัดเลือกให้ได้รับทุนเงินอุดหนุนงานกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา จากสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ประจำปี 2563
พ.ศ. 2564 : เกียรติบัตรผู้มีบทบาทเป็นผู้นำทางวิชาการขับเคลื่อนการดำเนินการ "โครงการตามหลักสูตรประกาศนียบัตรการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาสะเต็มศึกษา ศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษาขององค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO STEM-ED) ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยทักษิณ
พ.ศ. 2564 : เกียรติบัตรผู้ให้การสนับสนุนด้านวิชาการ "การพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนรู้บูรณาการ Food Literacy ความรอบรู้เรื่องอาหาร" จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
พ.ศ. 2565 : โล่และเกียรติบัตรการนำเสนอบทความวิจัยใน Special Session : SEAMEO STEM-ED Professional Academy เรื่อง การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา ด้วยเครือข่ายนิเทศ ผ่านกระบวนการ PLC รูปแบบออนไลน์ กรณีศึกษาครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล ในงานการประชุมวิชาการระดับชาติ "วิทยาศาสตร์วิจัย" ครั้งที่ 13 ได้รับรางวัลผลงานวิจัยภาคบรรยายระดับดีมาก
พ.ศ. 2565 : โล่และเกียรติบัตรผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนร่วม จากศูนย์การฝึกนักศักษาวิชาทหารมณฑลทหารบกที่ 42
พ.ศ. 2565 : เกียรติบัตรผู้บำเพ็ญประโยชน์สนับสนุนด้านวิชาการขยายผลการพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนรู้บูรณาการ ปี 2565 จาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
พ.ศ. 2565 : เกียรติบัตรผู้มีความเสียสละสนับสนุนด้านวิชาการขับเคลื่อนการดำเนินการ "โครงการค่ายเสริมสร้างศักยภาพครูคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนเอกชนสอนศาสนา ในระบบการศึกษา เพื่อความมั่นคง" จากมหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา
พ.ศ. 2565 : เกียรติบัตรบุคลากรที่มุ่งผลสัมฤทธิ์สูง จาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล
พ.ศ. 2565 : รางวัลพระพฤหัสบดี ชนะเลิศประเภทกลุ่มผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษา ระดับจังหวัด ประจำปี 2565 จากสำนักงานคณะกรรมการ สกสค.
ปฏิบัติหน้าที่ตามกรอบงานศึกษานิเทศก์ ดังนี้
ภารกิจตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ : งานประสานส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
คณะนิเทศงานหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื่นฐาน
คณะนิเทศงานหลักสูตรพิเศษ
หัวหน้าคณะนิเทศงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะนิเทศงานวิจัย พัฒนา ส่งเสริม ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการจัดการศึกษา ครอบคลุมระดับชั้นเรียนและสถานศึกษาระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับชาติ
คณะนิเทศงานวิจัย พัฒนา ส่งเสริมมาตรฐานการศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษา ประเมิน ติดตามและตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
หัวหน้างานนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา
คณะนิเทศงานศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา ส่งเสริมและพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
คณะนิเทศงานติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษาในส่วนของงานวิชาการ (ก.ต.ป.น.)
ภารกิจกรรมการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ
นโยบายโรงเรียนพี่เลี้ยงโรงเรียน ตชด.
นโยบายการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการมีงานทำ
นโยบายจัดการศึกษาสู่อาเซียน/พัฒนาผู้เรียนสู่ศตวรรษที่ 21
นโยบายโรงเีรยนโครงการการพัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษา ในภูมิภาค (Education Hub)
นโยบายโรงเรียนสุจริต
นโยบาย STEM Education
นโยบายโรงเรียนมาตรฐานสากล
นโยบายการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ
นโยบายยกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
นโยบายโรงเรียนสีเขียน (สนองยุทธศาสตร์ที่ 5 จัดการศึกษาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม)
ภารกิจงานนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา โดยใช้สหวิทยาเขตเป็นฐาน
รับผิดชอบดูแล ประสานงาน ประจำสหวิทยาเขต สองทะเล ซึ่งมีโรงเรียน ทั้งหมด จำนวน 14 โรงเรียน ได้แก่
โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา
โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา
โรงเรียนนวมินทราชูทิศทักษิณ จังหวัดสงขลา
โรงเรียนสงขลาวิทยาคม
โรงเรียนสทิงพระวิทยา
โรงเรียนสทิงพระชนูปถัมภ์
โรงเรียนชะแล้นิมิตวิทยา
โรงเรียนสามบ่อวิทยาคม
โรงเรียนกระแสสินธิ์วิทยา
โรงเรียนระโนดวิทยา
โรงเรียนระโนด
โรงเรียนตะเครียะวิทยา
โรงเรียนคลออแดนวิทยา
โรงเรียนธรรมโฆสิต
พฤติกรรมที่แสดงออกเชิงประจักษ์ด้านที่ 1 การมีวินัย คุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ
ตอนที่ 1 มี 5 ตัวชี้วัด ดังนี้
1.1 การมีวินัยในตนเอง ยอมรับและถือปฏิบติตามกฎ กติกา มารยาท ขนบธรรมเนียมและแบบแผนอันดีงามของสังคม
1.2 การรักและเสริมสร้างวินัยในตำแหน่งหน้าที่ราชการ การปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ
1.3 การตรงต่อเวลา การอุทิศเวลาแก่ทางราชการและผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
1.4 ความซื่อสัตย์ สุจริตในการปฏิบัติหน้าที่การรักษาผลประโยชน์ของทางราชการและไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน
1.5 การรักษาความสามัคคี มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนร่วมงาน องค์กร และชุมชน
ตอนที่ 2 การประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี มี 5 ตัวชี้วัดดังนี้
2.1 ความอุตสาหะ ขยัน อดทน มุ่งมั่นและรับผิดชอบต่อผลสัมฤทธิ์ของงานโดยยึดหลักประหยัด คุ้มค่า มีประสิทธิภาพ
ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูลอย่างต่อเนื่อง รายละเอียดดังนี้
ปี 2561
1) โครงการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ด้านการโค้ชเพื่อการรู้คิด (Cognitive Coaching) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 16 ปี
2) โครงการกาพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ด้วยกระบวนการ PLC ของครูแกนนำในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 16 ขอทุน โครงการ Chevron Enjoy Science
ปี 2562
โครงการการพัฒนาแนวปฏิบัติสู่ผลสัมฤทธิ์ขั้นสูง (High – Impact Practice) ของครูวิทยาศาสตร์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 16 โดยใช้กระบวนการ PLC (Professional Learning Community) ได่รับทุนเงินอุดหนุนกิจกรรมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จากสำนักงานคุรุสภา ปี 2562
ปี 2563
โครงการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้กระบวนการ PLC (Professional Learning Community) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 16 ได่รับทุนเงินอุดหนุนกิจกรรมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จากสำนักงานคุรุสภา ปี 2563
ปี 2564
1) โครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาครูแกนนำ ผ่านกระบวนการ PLC สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล ได้รับทุนสนับสนุน โครงการ Chevron Enjoy Science "สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต" ระยะที่ 2 ศูนย์ SEAMEO STEM-ED ร่วมกับมหาวิทยาลัยทักษิณ
2) โครงการขับเคลื่อนการดำเนินงานโรงเรียนในโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล
3) โครงการสร้างจิตสำนึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ปี 2565
1) โครงการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยใช้กระบวนการ PLC (Professional Learning Community) ได้รับทุนสนับสนุนจาก สสวท ภายใต้การดูแลจากมหาวิทยาราชภัฎสงขลา
2) โครงการการนิเทศเชิงรุกเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศของโรงเรียนในโครงการโรงเรียนมาตรฐานสสากล
3) โครงการการจัดการศึกษาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
2.2 การยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม มีความศรัทธาและปฏิบัติตนตามหลักศาสนา
เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูลและหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในจังหวัดและต่างจังหวัด ร่วมถึงปฏิบัติตามหลักศาสนาที่เคารพในการดำเนินชีวิตประจำวัน
2.3 การยึดมั่นในหลักนิติธรรมยืนหยัด กระทำในสิ่งที่ถูกต้องเป็นธรรมและชอบด้วยกฎหมาย
ปฏิบัติตนโดยยึดถือและเชื่อมั่นในความถูกต้อง มีความซื่อสัตย์สุจริต ความเสียสละความอดทนขยันหมั่นเพียรและมีระเบียบวินัยในการปฏิบัติหน้าที่ในงานที่รับผิดชอบมีความโปร่งใส่ของการปฏิบัติงานทั้งภายในระดับหน่วยงานและนอกหน่วยงานที่เข้ามาสนับสนุนงบประมาณต่าง ๆ
2.4 การยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และวางตัวเป็นกลางทางการเมือง
ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดเคารพระเบียบตามมติของสังคมปฏิบัติตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม
2.5 การมีส่วนร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยและสิ่งแวดล้อม
รับผิดชอบโครงการสร้างจิตสำนักที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้รักษ์ สิ่งแวดล้อม สนองนโยบายยุทธศาสตร์ที่ 5 จัดการศึกษาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ตอนที่ 3 การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม มี 5 ตัวชี้วัดดังนี้
3.1 การดำรงชีวิตตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปฏิบัติตนบนพื้นฐาน 3 ห่วง 2 เงื่อนไข และมีวิถีชีวิตของครอบครัวเกษตรอินทรีย์
3.2 การละเว้นอบายมุขและสิ่งเสพติด
ไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุขและสิ่งเสพติด โดยแสดงตนและปฏิบัติตนเชิงประจักษ์แก่ ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน เพื่อนในชุมชน และเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่บุตร ธิดา อบรมสังสอนให้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการละเว้นซึ่งอบายมุขและสิ่งเสพติดทั้งหลายทั้งปวด ข้าพเจ้าปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมมีหลักฐานเชิงประจักษ์จากการประพฤติปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน
3.3 การใช้หรือให้ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลและของทางราชการให้เป็นไปด้วยความถูกต้อง
1) จัดทำเอกสารประกอบการอบรมเรื่อง การโค้ชเพื่อการรู้คิด (Cognitive Coaching)
2) จัดทำเอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ การสะท้อนคิดแนวทางการพัฒนาสถานศึกษาสู่การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สู่การรู้คิด โดยใช้กระบวนการ PLC
3) จัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูด้วยวิธีการเรียนเชิงรุก (Active Learning) สู่การโค้ชเพื่อการรู้คิด (Cognitive Coaching)
4) จัดทำรายงานโครงการ การสร้างการรับรู้และสร้างจิตสำนึกในการผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมประจำปีงบประมาณ 2562
5) จัดทำรายงานผลการดำเนินกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) ประจำปี 2562 รายงานสำนักเลขาธิการคุรุสภา
6) จัดทำบทความเรื่องการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีเรียนเชิงรุกของครูวิทยาศาสตร์แกนนำ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 16 เผยแพร่ผ่าน เอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Research and Innovation for Sustainability Development) วันที่ 9-10 พฤษภาคม 2562 ณ โรงแรมสยามออเรียลทัล อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
7) จัดทำบทความเรื่องการนำแนวปฏิบัติสู่ผลสัมฤทธิ์ขั้นสูง (High-Impact Practices) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูวิทยาศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 16 โดยใช้กระบวนการ PLC (Professional Learning Community) ได้รับคัดเลือกระดับเครือข่ายสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มีแนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูวิทยาศาสตร์ จากสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ประจำปี 2562 และบทความกำลังรอการเผยแพร่ ผ่านสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา
8) จัดทำแผ่นพับเผยแพร่เรื่อง PLC สู่ชั้นเรียน
9)จัดทำรายงานการนิเทศครู CS ติดตามและประเมินผลครูผู้ร่วมนิเทศ (Co-Supervisor :CS)
10) จัดทำรายงานผลการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบาย 6 วาระของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 16
11) จัดทำสรุปรายงานการนิเทศติดตามการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูวิทยาศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 16 โดยใช้กระบวนการ PLC (Professional Learning Community)
12) จัดทำเอกสารเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยใช้กระบวนการ PLC (Professional Learning Community) ปี 2565
13) จัดทำรายงานการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยใช้กระบวนการ PLC (Professional Learning Community) ปี 2565
14) เขียนบทความวิจัย Special Session : SEAMEO STEM-ED Professional Academy เรื่อง การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา ด้วยเครือข่ายนิเทศ ผ่านกระบวนการ PLC รูปแบบออนไลน์
3.4 การดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดี เหมาะสมกับสถานภาพและตำแหน่งหน้าที่
ผลเชิงประจักษ์ของการดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดี เหมาะสม ทำให้ได้มีโอกาสเป็นวิทยากรในรายการต่าง ๆ ทั้งภายในสังกัดและภายนอกสังกัด ร่วมทั้งได้ร่วมเป็นคณะกรรมการเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของหน่วยงานชั้นนำของประเทศ อาทิ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมถึงมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และร่วมนำเสนอข้อมูลทางวิชาการในงานต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
3.5 การประหยัด มัธยัสถ์ อดออม
ได้รับความรู้และเกิดความตระหนักเห็นความสำคัญยิ่งของการประหยัด มัธยัสถ์ อดออมอยู่บนพื้นฐานความพอประมาณในการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข ได้เข้าร่วมกิจรรมต่างเพื่อ สร้างการรับรู้และมีส่วนร่วมในการสร้างความตระหนักแก่บุคคลอื่น ๆ ให้เห็นความสำคัญและมีแนวคิดในการใช้ชีวิตบนพื้นฐานการประหยัด อดออม
ตอนที่ 4 ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ มี 5 ตัวชี้วัดดังนี้
4.1 การเป็นสมาชิกที่ดีสนับสนุนหรือร่วมกิจกรรมของวิชาชีพและทางวิชาการอย่างสร้างสรรค์
ผลงานเชิงประจักษ์ที่ยืนยันการเป็นสมาชิกที่ดีสนับสนุนหรือร่วมกิจกรรมของวิชาชีพและทางวิชาการอย่างสร้างสรรค์ ได้ร่วมงานวิชาการ ร่วมขับเคลื่อน ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาทั้งระดับประเทศ ระดับภาค ระดับจังหวัด อย่างต่อเนื่อง เช่น คณะกรรมการกำกับติดตาม และประเมินผลส่งเสริมกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาจรรยาบรรณวิชาชีพผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Ethics in Professional Learning Community : E-PLC) สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา คณะกรรมการส่งเสริมการขับเคลื่อนการจัดทำหลักสูตรสิ่งแวดล้อมที่ยังยืน ของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
4.2 การศึกษา ค้นคว้า ริเริ่ม สร้างสรรค์ความรู้ใหม่ๆ มาใช้พัฒนางานในวิชาชีพ
พัฒนาองค์ความรู้ทั้งจากการศึกษาเอกสาร งานวิจัย ต่าง ๆ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักการศึกษาของหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ เช่น สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา สสวท ศูนย์ SEAMEO STEM-ED มหาวิทยาลัยต่าง ๆ เช่น มหาวิทยาขอนแก่น มหาวิทยาลัยพะเยาว์ มหาวิทยาราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาสงขลานครินทร์ มหาวิทยาราชภัฏสงขลา เพื่อนำความรู้สู่การพัฒนางานในตำแหน่งศึกษานิเทศก์ อย่างต่อเนื่อง
4.3การมีบทบาทเป็นผู้นำทางวิชาการในวงวิชาชีพ
ร่วมเป็นวิทยากรเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของหน่วยงานในสังกัด นอกสังกัด อย่างต่อเนื่อง ความชำนาญการ ด้าน กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งผลสัมฤทธิ์ขั้นสูง กิจกรรมสันทนาการเชิงวิชาการ การสอนตามแนวสะเต็มศึกษา การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน การบูรณาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้/การวัดและประเมินผล /การออกแบบชิ้นงาน/ภาระงานที่เหมาะสมกับระดับการรู้คิดของผู้เรียน
4.4 การรักษาชื่อเสียงปกป้องศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพและการยกย่องเชิดชูเกียรติ
จากผลการปฏิบัติหน้าที่ศึกษานิเทศก์ ตลอดระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม 2561 ถึงปัจจุบัน มีความรักและศรัทธาในวิชาชีพศึกษานิเทศก์ มุ่งมั่นและพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง จนมีผลเชิงประจักษ์ ที่ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ ดังนี้
4.5 การเสริมสร้างปลูกจิตสำนึกที่ดีแก่ ผู้เรียน ชุมชน สังคม
ตอนที่ 5 ความรับผิดชอบในวิชาชีพ มี 5 ตัวชี้วัดดังนี้
5.1 การเอาใจใส่ ถ่ายถอดความรู้ หรือส่งเสริมการแสวงหาความรู้โดยไม่บิดเบือนปิดบังหวังสิ่งตอบแทน
5.2 การเอาใจใส่ช่วยเหลือผู้เรียนและผู้รับบริการเต็มความสามารถตามหลักวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอ เท่าเทียมกัน
5.3 การศึกษา ค้นคว้า ริเริ่ม สร้างสรรค์ความรู้ใหม่นวัตกรรมในการพัฒนางานในหน้าที่
5.4 การประพฤติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพและแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ
5.5 การเอาใจใส่ช่วยเหลือผู้เรียนและผู้รับบริการเต็มความสามารถตามหลักวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอ เท่าเทียมกัน
ผลเชิงประจักษ์ ตอนที่ 5 ทั้ง 5 ตัวชี้ สะท้อนจากผลงานดังนี้
พัฒนาตนเองจนมีความรู้ความสามารถในการเป็น 1) วิทยากรทั้งภายในและภายนอกสังกัดอย่างต่อเนื่อง ทั้งเป็นวิทยากรพัฒนาครู บุคลากรทางการศึกษา นิสิต นักศึกษาร่วมทั้งนักเรียน 2) คณะทำงานทั้งหน่วยงานในสังกัดและนอกสังกัด โดยเฉพาะคณะกรรมการสังเคราะห์องค์ความรู้และคณะกรรมการคุณธรรมจริยธรรมของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา 3) เสนอผลงานทางวิชาการในงานต่าง ๆ ได้รับรางวัลเป็นที่ยอมรับจากหน่วยงานต่าง ๆ 4) ให้การสนับสนุนและร่วมพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาทั้งภายในและภายนอกสังกัดอย่างต่อเนื่อง